ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันโลก ที่นักลงทุนควรรู้

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันโลก ที่นักลงทุนควรรู้

              เราจะสังเกตได้ว่าราคาน้ำมันโลก กราฟจะมีการขยับปรับตัวขึ้นและลงอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนในตลาดน้ำมันจะต้องมีความแม่นยำและมีความรู้ในการเทรด เพื่อป้องกันการขาดทุน โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งถ้าหากนักลงทุนจับตามองความเคลื่อนไหวของปัจจัยเหล่านี้ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์การปรับตัวของราคาน้ำมันได้ และเมื่อนำมาประกอบกับกลยุทธ์ในการลงทุน จะทำให้สามารถเชื่อได้ว่า จะลดความเสี่ยงในการขาดทุนไปได้เยอะเลยทีเดียว

3 ปัจจัยที่น่าจับตามอง สำหรับการลงทุนในตลาดน้ำมัน

              นักลงทุนหลายคนมีความชำนาญในการดูราคาน้ำมันโลก กราฟย้อนหลังเพื่อวิเคราะห์ทิศทางของราคาน้ำมัน เนื่องจากมีทฤษฎีที่เชื่อว่า การเคลื่อนไหวของกราฟนั้นจะมีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวในอดีต ซึ่งทฤษฎีนี้ต้องยอมรับว่าบางคนใช้ได้ผลเป็นอย่างดี แต่สำหรับบางคนก็ไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงลดลง เราจึงควรเพิ่มแนวทางในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ตามแนวทางที่เราได้นำมาฝากให้ทุกคนพิจารณาร่วมกัน

กรรมวิธีในการสกัดและการกลั่นน้ำมัน

เนื่องจากน้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน อันเกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์ หรือฟอสซิลที่มีอายุรวมหลายร้อยหลายพันปี และถูกปกคลุมด้วยชั้นของหินและทราย กระบวนการกลั่นและสกัดน้ำมันดิบจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออันทันสมัยและมีต้นทุนสูง เพราะลึกลงไปใต้ดินนั้นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการที่จะนำเอาน้ำมันออกมาจากพื้นดิน ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา กระบวนการเหล่านี้จะต้องพบกับความล้มเหลว ทั้งด้านความพยายามและการใช้เทคโนโลยีอยู่หลายครั้ง จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีราคาที่สูงขึ้น

อุปสงค์และความต้องการใช้น้ำมัน

เหตุผลที่มีนักวิชาการหลายคนพยายามแนะนำแนวทางในการวิเคราะห์ราคาน้ำมันโลก กราฟต่าง ๆ ไปที่ประเทศระดับแถวหน้าของโลก เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นมีความต้องการใช้น้ำมันสูง อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้น้ำมันมากที่สุด รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และสุดท้ายคือประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมในยุโรป เนื่องจากประเทศระดับแถวหน้าของโลกเหล่านี้มีความต้องใช้น้ำมันดิบในปริมาณมาก เพื่อการใช้งานด้านอุตสาหกรรมและด้านเศรษฐกิจของตนเอง ดังนั้นความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศเหล่านี้จึงส่งผลต่อราคาน้ำมันโลกแทบจะทันทีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

สังเกตความเคลื่อนไหวของประเทศในกลุ่ม OPEC

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) มีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 13 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ประเทศซาอุดีอาระเบีย, ประเทศอิรัก, ประเทศอิหร่าน, ประเทศคูเวต, ประเทศเวเนซุเอลา, ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ประเทศไนจีเรีย, ประเทศแอลจีเรีย, ประเทศลิเบีย, ประเทศกาบอง, ประเทศแองโกลา, ประเทศอิเควทอเรียลกินี และสาธารณรัฐคองโก ทุกความเคลื่อนไหวของประเทศเหล่านี้จะกำหนดทิศทางของราคาน้ำมันโลก กราฟ และการปรับตัวขึ้นหรือลงของราคาน้ำมัน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตลาดน้ำมันโลกเกิดความผันผวนรุนแรง โดยสาเหตุส่วนใหญ่จะมาจากการกำหนดนโนบาย และการผลิตน้ำมันตามโควตาของประเทศสมาชิก ซึ่งจะพบว่า ความต้องการใช้มีสูงกว่ากำลังการผลิตเสมอ จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาน้ำมันโลกจะมีความผันผวนจนที่ยากจะคาดเดา

ตลาดราคาน้ำมันโลก กราฟ และผลการรายงานอื่น ๆ ชี้ให้เห็นได้ว่า ตลาดน้ำมันนั้นมีความอ่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระแสที่เป็นข่าวทางเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการเงิน ส่วนปัจจัยเสริมที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกทวีความผันผวนมากยิ่งขึ้นคือ การเมืองที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า การขนส่ง การสำรองน้ำมัน และความต้องการใช้น้ำมัน ดังนั้นนักลงทุนจึงควรเพิ่มแนวทางในการหันมาศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการขาดทุน